กระบวนการสร้าง ของ ถนนสายนี้ หัวใจไม่เคยลืม

แนวความคิด

มังงะเรื่อง ซังโจเมะโนะยูฮิ ต้นกำเนิดของออลเวย์ส

ออลเวย์สถูกสร้างขึ้นด้วยงบประมาณ 1.4 พันล้านเยน (ประมาณ 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) [4] โดยมีองค์กรที่ร่วมมือกันผลิต 8 องค์กร ได้แก่ เด็นสึ, นิปปง เทเลวิชัน คอร์โปเรชัน, โรบอต, โชงะกุกัง, โทโฮ, วีเอพี, โยะมิอุริชิมบุง, และวายทีวี โดยในส่วนของโทโฮ ยังทำหน้าที่จัดจำหน่ายด้วย[5]

แนวคิดในการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้เกิดขึ้นมาจากความต้องการของ ชุจิ อะเบะ ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ ที่มีความคิดจะสร้างภาพยนตร์ที่มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับประเทศญี่ปุ่นช่วงยุคโชวะ โดยได้หยิบยกหนังสือการ์ตูนชุด ซังโจเมะโนะยูฮิ ผลงานของเรียวเฮ ไซงัง (วางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2517[6]) ที่เล่าถึงชีวิตของผู้คนในชุมชนเล็ก ๆ แห่งหนึ่งของกรุงโตเกียว มาเป็นพื้นฐานในการดำเนินเรื่อง[7] อะเบะได้มอบหมายให้ ทะกะชิ ยะมะซะกิ ผู้กำกับภาพยนตร์ ซึ่งมีประสบการณ์ทางด้านสเปเชียลเอฟเฟคต์และการสร้างภาพเสมือนจริง และเคยร่วมงานกับเขามาแล้วในภาพยนตร์เรื่อง อัศวินอนาคตเจาะมิติมหัศจรรย์ (Juvenile, พ.ศ. 2543) และ นักฆ่าทะลุศตวรรษ (Returner, พ.ศ. 2545) มาทำหน้าที่ผู้กำกับ ผู้ดูแลงานด้านเทคนิคพิเศษ และผู้ประพันธ์บทภาพยนตร์ร่วมกับเรียวตะ โคะซะวะ

บทภาพยนตร์

ยะมะซะกิได้กล่าวถึงการดัดแปลงเนื้อเรื่องจากหนังสือการ์ตูนให้กลายเป็นบทภาพยนตร์ว่า "...มังงะเรื่องนี้มีทั้งหมด 51 ชุด[8] ซึ่งผมอ่านมันทั้งหมด 2 รอบ จากนั้นค่อยเลือกหยิบเอาเนื้อหาตอนที่ดี ๆ ออกมา ในเรื่อง มันจะมีตัวละครจำนวนหนึ่งที่ปรากฏตัวหลายครั้ง ซึ่งหนึ่งในนั้นผมได้เลือกจะงะวะมาใช้เป็นตัวละครหลัก ที่เป็นเช่นนี้ เพราะไม่มีตัวละครตัวใดเลยที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเติบโตนอกจากจะงะวะ เขาเริ่มต้นด้วยการเป็นคนใจร้ายและหลงตัวเอง แต่เมื่อผ่านเรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ เขาก็กลายเป็นผู้ชายที่สุภาพและเป็นมิตร เพราะฉะนั้นผมจึงคิดว่าเขาเหมาะสมสำหรับการเป็นตัวละครในภาพยนตร์ ส่วนตัวละคร ‘ซุซุกิออโต’ ผมได้วางตำแหน่งเขาเอาไว้ตรงข้ามกับจะงะวะ เพื่อสร้างการปะทะกันระหว่างความเป็นคอบครัว (ของซุซุกิออโต) และความไม่มั่นคงของจะงะวะ"[7]

การคัดเลือกนักแสดง

การถ่ายทำโดยใช้แบบจำลองรถไฟและหัวรถจักรรุ่นซี 62

ในส่วนของการคัดเลือกนักแสดง เนื่องจากยะมะซะกิต้องการผู้ที่มีกลิ่นไอของความเป็นชาวญี่ปุ่นสมัยโชวะ นักแสดงวัยผู้ใหญ่ที่เขาคัดเลือกมาจึงเป็นนักแสดงที่เคยโด่งดังจากภาพยนตร์ที่ออกฉายในสมัยโชวะจริง ๆ เช่น ฮิโระโกะ ยะกุชิมะรุ (จากเรื่อง เซเลอร์ซูตแอนด์แมชีนกัน, พ.ศ. 2524) ฮิเดะตะกะ โยะชิโอะกะ (จากเรื่อง โทะระซัง, พ.ศ. 25122538) หรือ โทะโมะกะสุ มิอุระ (จากเรื่อง อิสุโนะโอะโดะริโกะ, พ.ศ. 2517) เป็นต้น ในจำนวนนี้ มีเพียง โคะยุกิ คะโต (หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า โคะยุกิ) ผู้รับบทเป็นฮิโระมิ อิชิซะกิ เท่านั้นที่ไม่ใช่นักแสดงในยุคโชวะ ที่เป็นเช่นนี้เพราะเขาต้องการให้ฮิโระมิเป็นตัวละครที่แตกต่างจากตัวละครตัวอื่น และดูเป็นคนแปลกหน้าสำหรับชาวบ้านบนถนนสายที่ 3 ฉะนั้น เขาจึงเลือกนักแสดงหญิงที่ต่างจากผู้หญิงญี่ปุ่นในยุคโชวะ มีความงามเหมือนนางฟ้า และสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้คนได้เพียงเดินผ่าน ซึ่งในที่สุด เขาก็ได้เลือกโคะยุกิมาแสดงในบทนี้[7]

การถ่ายทำและเทคนิคพิเศษ

ด้านการถ่ายทำ ด้วยเหตุที่เรื่องราวของภาพยนตร์เรื่องนี้เกิดขึ้นในญี่ปุ่นช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1950 ฉากต่าง ๆ จึงต้องถูกสร้างขึ้นมาใหม่ให้สมจริงกับช่วงเวลาดังกล่าว โดยทีมงานได้เลือกใช้โรงถ่ายภาพยนตร์โรงใหญ่ที่สุดของโทโฮ ในการถ่ายทำฉากชุมชนและภายในบ้าน และสนามบินขนาดเล็กในทะเตะบะยะชิ ในการถ่ายทำฉากถนนสายหลัก เมื่อการถ่ายทำเสร็จสิ้น ทางทีมงานจึงได้เพิ่มเติมองค์ประกอบที่ยังขาดหายและตกแต่งภาพอีกครั้งด้วยเทคนิคพิเศษต่าง ๆ เช่น การสร้างภาพคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ของหอคอยโตเกียวที่ยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างจนกระทั่งสร้างเสร็จ รวมถึงรถยนต์รุ่นเก่าที่แล่นอยู่บนถนน และการใช้แบบจำลองขนาดเล็กของหัวรถจักรรุ่นซี 62 มาใช้เป็นต้นแบบในการสร้างรถไฟที่มุสึโกะโดยสารเข้ามาทำงานในกรุงโตเกียว เป็นต้น ยะมะซะกิได้กล่าวถึงแนวทางในการใช้เทคนิคพิเศษสำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า เขาเลือกที่จะใช้เทคนิคเหล่านี้ให้มีความเป็นผู้ใหญ่ โดยไม่พยายามทำให้มันดูฉูดฉาดเกินไป จนมันโดดเด่นกว่าเนื้อเรื่องและตัวละครเหมือนภาพยนตร์ขายเทคนิคพิเศษของฮอลลีวูดหลายๆ เรื่อง[7]

เพลงประกอบภาพยนตร์

Always Sanchome no Yuhi (Sunset on the Third Street) - Original Soundtrack
อัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ โดย Naoki Sato
วางตลาด21 ตุลาคม พ.ศ. 2548
ความยาว44:03
ลำดับชื่อเพลงยาว
1. "Always - Opening Title"   2:53
2. "Desire"   2:32
3. "Brown River Novelist"   1:30
4. "New Tokyo"   1:21
5. "Riyuunosuke and Ziyuosuke"   2:02
6. "Late Riser"   1:41
7. "Boy Venture Group"   1:07
8. "Suzuki's Anger"   1:43
9. "Suzuki's Dream"   1:42
10. "Rice Calais"   1:20
11. "The Television"   1:24
12. "Memory"   0:59
13. "The Refrigerator"   1:29
14. "Boy Venture Group II"   1:01
15. "To Kouenzi"   1:33
16. "The Way Back"   0:46
17. "Christmas Present"   3:11
18. "Ring"   1:50
19. "A Winter's Day"   1:49
20. "New Year's Eve"   1:26
21. "Abrupt Separation"   1:40
22. "Family Bond"   3:05
23. "Always - Sunset On Third Street"   5:59
ความยาวทั้งหมด:
44:03

แหล่งที่มา

WikiPedia: ถนนสายนี้ หัวใจไม่เคยลืม http://allmovie.com/cg/avg.dll?p=avg&sql=1:341270 http://www.allmovie.com/cg/avg.dll?p=avg&sql=1:341... http://www.allmovieguide.com/cg/avg.dll?p=avg&sql=... http://boxofficemojo.com/intl/japan/?yr=2005&curre... http://boxofficemojo.com/intl/taiwan/?yr=2007&curr... http://boxofficemojo.com/intl/taiwan/?yr=2007&wk=1... http://www.brns.com/japan/pages1/japan40.html http://www.fantasiafestival.com/2007/en/films/film... http://www.hanamiweb.com/topstory17082006.html http://www.hogacentral.com/Special_TY_AST.html